แจ้งเตือนสินค้าไม่ปลอดภัย

ระวัง!! ไฟฉาย LED แบบพกพา

บทความ 30 กันยายน 2562

หมวดหมู่ : งานช่าง/เบ็ดเตล็ด

สินค้า : ไฟฉาย

ยี่ห้อ : -

ชื่อสินค้า : Pelican Products Inc — Pelican 9410 and 9415 NiMH Flashlights

ประเภท/หมายเลขรุ่น : 2019/17856

บาร์โค้ด : -

รายละเอียดสินค้า : ไฟฉาย LED พกพาบรรจุแบตเตอรี่ภายใน รุ่นที่แจ้งเตือนได้แก่ Pelican 9410 (741 lumens) และ 9415 (588 lumens)

ผู้ผลิต : ออสเตรเลีย

ประเทศที่แจ้งเตือน : ออสเตรเลีย

ความเป็นอันตราย

สินค้าไม่ปลอดภัยเนื่องจากตรวจสอบพบว่าชิ้นส่วนแบตเตอรี่จะเกิดความร้อนสูงขณะชาร์จไฟ ทำให้เสี่ยงต่อการระเบิดจนเป็นอันตรายแก่ผู้ใช้ได้

มาตรการ

กรณีที่แบตเตอรี่ของสินค้าเกิดความร้อนสูงขณะใช้งาน แนะนำให้หยุดใช้สินค้าทันที และติดต่อไปยังผู้ผลิตเพื่อขอเปลี่ยนชิ้นส่วนแบตเตอรี่ได้ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เบอร์ 02 4367 7022 วันทำการ วันจันทร์ - ศุกร์ เวลา 08.30 – 17.00 น. หรือช่องทางเว็บไซต์ http://www.pelican.com/9410-9415-recall-au หรือช่องทางอีเมลล์ที่ info.australia@pelican.com

เรื่องราวที่เกี่ยวข้อง
ชื่อสินค้า : ถุงลมนิรภัย ทาคาตะ ความเป็นอันตราย           สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ได้รับทราบกรณีการเกิดอุบัติเหตุรถยนต์ โดยผลชันสูตรสาเหตุการเสียชีวิตเกิดจากชิ้นส่วนโลหะทะลุเข้าบริเวณคอ ซึ่งชิ้นส่วนดังกล่าวมีลักษณะเข้าได้กับชิ้นส่วนของชุดสร้างแรงดันถุงลมเสริมความปลอดภัย ยี่ห้อ ทาคาตะ (Takata) ทั้งนี้ เหตุการณ์การเสียชีวิตจากถุงลมนิรภัย ยี่ห้อ ทาคาตะ ได้เกิดขึ้นในหลายประเทศทั่วโลก และมีการเรียกคืนรถยนต์ จํานวน 100 ล้านคัน เพื่อเปลี่ยนถุงลมนิรภัยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2551 และมีผู้เสียชีวิตจากกรณีถุงลมนิรภัยระเบิด จำนวน 8 ราย และบาดเจ็บมากกว่า 100 ราย ส่วนในประเทศไทยมีรถยนต์ จำนวน 12 บริษัท ที่ใช้ถุงลมนิรภัยยี่ห้อดังกล่าว โดยผู้ประกอบธุรกิจด้านยานยนต์ทั้ง 12 บริษัท ได้มีการจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ เช่น ใบปลิว แผ่นพับ Infoghapic โดยประกาศในสื่อโซเซียลมีเดียของผู้ประกอบธุรกิจ และสื่ออื่น ไม่ว่าจะเป็น YouTube Facebook เป็นต้น  
วันที่เผยแพร่ : 26/10/2566
อ่านต่อ
หมวดหมู่ : เครื่องใช้ไฟฟ้า ชื่อสินค้า : รังสี UVC ความเป็นอันตราย           สถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019  (COVID – 19) ในปัจจุบันมีผู้ประกอบการและผู้บริโภคใช้หลอดรังสี UVC ในการฆ่าเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ตามบ้านเรือน เช่น การฆ่าเชื้อไวรัสบนธนบัตร เครื่องใช้ อุปกรณ์ หรือผลิตภัณฑ์อื่น ซึ่งจากข้อมูลของสถาบันโรคผิวหนัง กรมการแพทย์และราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย พบว่ารังสี UVC มีความเป็นอันตรายต่อผิวหนังและดวงตา เมื่อได้รับการสัมผัสโดยตรง ดังนั้น คณะกรรมการว่าด้วยความปลอดภัยของสินค้าและบริการจึงมีข้อแนะนำว่าไม่ควรนำมาใช้ภายในบ้านเรือนหรืออาคารยกเว้นนำไปใช้ภายในสถานที่ปิดมิดชิด (ระบบปิด) หรือในขณะที่ไม่มีผู้อยู่อาศัยภายใต้การควบคุมของผู้เชี่ยวชาญ เช่น โรงพยาบาล  
วันที่เผยแพร่ : 06/11/2563
อ่านต่อ
หมวดหมู่ : เครื่องใช้ไฟฟ้า ชื่อสินค้า : เครื่องแยกกากน้ำอ้อย ความเป็นอันตราย             จากข้อมูลการเกิดอุบัติเหตุจากการใช้เครื่องแยกกากน้ำอ้อย เกิดจากการใช้นิ้วมือเข้าไปดึงชานอ้อยในขณะเครื่องกำลังทำงาน การถอดฝาครอบเครื่องเพื่อสะดวกต่อการใช้งาน หรือการนำเครื่องไปทำการดัดแปลงโดยอาจทำให้มีความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ จนเป็นเหตุทำให้ผู้ใช้งานเกิดความพิการต่อร่างกายอย่างถาวร จากความเป็นอันตรายดังกล่าวคณะกรรมการว่าด้วยความปลอดภัยของสินค้าและบริการมีความห่วงใยผู้ใช้เครื่องแยกกากน้ำอ้อย จึงมีข้อแนะนำให้ผู้ใช้งานทราบว่า ก่อนการใช้งานทุกครั้ง ผู้ใช้งานควรศึกษาคู่มือและปฏิบัติตามคู่มือการใช้งานอย่างเคร่งครัด และไม่ควรนำเครื่องไปทำการดัดแปลง
วันที่เผยแพร่ : 03/11/2563
อ่านต่อ