รู้จักหน่วยงาน

ความเป็นมา

ตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 232/2550 ลงวันที่ 17 กันยายน 2550 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการ ตรวจสอบระบบการดูแลความปลอดภัยของเล่นสำหรับเด็ก โดยมีเลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครอง ผู้บริโภคเป็นประธาน เพื่อดำเนินการตรวจสอบระบบความปลอดภัยในของเล่นเด็กและเสนอแนวทางในการ ปรับปรุงระบบดูแลความปลอดภัยของเล่นสำหรับเด็กเพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีนั้น คณะกรรมการฯ ได้ จัดให้มีการประชุมและได้เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาข้อเสนอแนะตามแนวทางที่คณะกรรมการเสนอ ซึ่งหนึ่ง ในข้อเสนอของคณะกรรมการ คือ ให้สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคศึกษาแนวทางการจัดตั้ง หน่วยงานสุ่มตรวจสินค้าอุปโภคบริโภคเพื่อความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ที่มีลักษณะคล้ายกับหน่วยงาน CPSC (Consumer Product Safety Commission) ของประเทศสหรัฐอเมริกา โดยให้สำนักงาน ก.พ. และสำนักงบประมาณพิจารณาสนับสนุนด้านบุคลากรและงบประมาณดำเนินงานต่อไป

จากความเห็นของสำนักงาน ก.พ. เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2550 เพื่อประกอบการพิจารณาของคณะ รัฐมนตรีเรื่องการตรวจสอบระบบการดูแลความปลอดภัยของเล่นสำหรับเด็ก โดยสำนักงาน ก.พ. เห็นควรสนับสนุนการจัดตั้งหน่วยงานสุ่มตรวจสินค้าอุปโภคบริโภค เพื่อความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ โดยมีภารกิจเฉพาะในด้านการออกสุ่มตรวจตัวอย่างสินค้าตามแหล่งผลิต แหล่งจำหน่าย และการประสาน เชื่อมโยงกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้องมหาวิทยาลัย สถาบันวิจัย และภาคเอกชน เพื่อสร้างระบบการตรวจ สอบ การวิเคราะห์ความปลอดภัยในลักษณะการทำงานที่เป็นเครือข่าย และจากการประชุมสภานิติบัญญัติ แห่งชาติโดยมี คุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์ ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระ ราชบัญญัติความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ. 2551 กล่าวในการประชุม สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวว่าทางรัฐบาลมีการเตรียมการที่จะ ตั้งศูนย์ในการวิเคราะหสินค้าที่ไม่ปลอดภัยเพื่อจะให้มีความเป็นกลาง ในระยะเวลา 1 ปี โดยในที่ประชุมมี ข้อสรุปขอให้คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคจัดตั้งองค์กรที่มีหน้าที่ในการดูแลเรื่องนี้ที่เป็นอิสระในทาง วิชาการให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลา 1 ปี เพื่อเป็นการสนับสนุนการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคตามความ ในมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ. 2551 และอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 31 และมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2535 และ มติคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ในการประชุมครั้งที่ 9/2550 เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2550 สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคจึงจัดตั้งศูนย์เฝ้าระวังและพิสูจน์สินค้าที่ไม่ปลอดภัยขึ้นเป็น หน่วยงานราชการภายในโดยมีหน้าที่ความรับผิดชอบโครงสร้างของศูนย์เฝ้าระวังและพิสูจน์สินค้าที่ไม่ ปลอดภัย บุคลากรผู้ปฏิบัติงานของศูนย์เฝ้าระวังและพิสูจน์สินค้าที่ไม่ปลอดภัยตามประกาศสำนักงาน คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค เรื่อง จัดตั้งศูนย์เฝ้าระวังและพิสูจน์สินค้าที่ไม่ปลอดภัย ณ วันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2552 และคำสั่งสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคที่ 14/2552 เรื่อง แต่งตั้ง เจ้าหน้าที่ประจำศูนย์เฝ้าระวังและพิสูจน์สินค้าที่ไม่ปลอดภัย ณ วันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2552

แนวทางในการดำเนินงานของศูนย์ฯ กรณีร้องเรียนสินค้าอันตราย

เมื่อผู้บริโภคซื้อสินค้าไปใช้ ไม่ว่าสินค้าจะมีคุณภาพตรงตามมาตรฐานหรือไม่ก็ตาม สินค้าอาจก่อให้เกิด อันตรายหรือไม่ปลอดภัยต่อผู้บริโภคได้ ในกรณีที่ผู้บริโภคได้รับอันตรายจาก การใช้สินค้า ผู้บริโภคอาจ ทำเรื่องร้องเรียนมายัง สคบ. หรือศูนย์เฝ้าระวังและพิสูจน์สินค้า ที่ไม่ปลอดภัยโดยตรง เมื่อศูนย์ฯ ได้รับ เรื่องร้องเรียนจากผู้บริโภค กรณีที่ได้รับอันตรายจากการใช้สินค้า ศูนย์ฯจะมีแนวทางการดำเนินงานดังนี้

  • รับเรื่องร้องเรียนสินค้าที่ก่อให้เกิดอันตรายจากผู้บริโภค และสัมภาษณ์ผู้บริโภค ถึงวิธีการใช้งานที่ก่อให้เกิดอันตราย
  • ถ้าวิธีการใช้งาน เป็นวิธีการใช้งานที่ผิดปรกติ ศูนย์ฯ จะแจ้งผู้บริโภคเพื่อทราบ แล้วจบขั้นตอนการทดสอบ
  • ถ้าวิธีการใช้งานเป็นวิธีการใช้งานตามปรกติ ศูนย์ฯ จะเก็บตัวอย่างสินค้าจากท้องตลาดมาเพื่อทดสอบ โดยทดสอบการใช้งานตามสภาวะที่ผู้บริโภคใช้งานตามปกติ
  • ถ้าพบว่าสินค้าก่อให้เกิดอันตราย หรือ อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้บริโภคในสภาพ การใช้งานตามปรกติ ศูนย์ฯ จะแจ้ง สคบ. และ/หรือหน่วยงานอื่นที่รับผิดชอบ ผลิตภัณฑ์โดยตรง เพื่อเรียกผู้ผลิตหรือผู้จัดจำหน่าย มาเพื่อรับทราบ และเจรจากับ ผู้บริโภคผู้ได้รับอันตราย ขั้นตอนนี้ อาจนำไปสู่การเรียกค่าเสียหาย ค่าชดเชย ให้แก่ ผู้บริโภค เรียกคืนสินค้าจากผู้บริโภคและท้องตลาด การสั่งห้ามจำหน่าย การปรับปรุง คุณภาพสินค้าในรุ่นต่อไป
  • ถ้าพบว่าสินค้าไม่มีแนวโน้มว่าจะเกิดอันตราย ให้ตรวจสอบต่อไปว่าสินค้าชิ้น ที่เกิด อันตรายมีข้อบกพร่องที่แตกต่างจากชิ้นอื่นๆ ที่เก็บตัวอย่างจากท้องตลาดหรือไม่ ถ้าพบว่า มีข้อบกพร่องที่ก่อให้เกิดอันตราย ศูนย์ฯ จะแจ้ง สคบ. และ/หรือหน่วยงาน ที่รับผิดชอบผลิตภัณฑ์โดยตรงเพื่อเรียกผู้ผลิตหรือผู้จัดจำหน่ายมาเพื่อรับทราบ และเจรจากับผู้บริโภค ผู้ได้รับอันตราย ขั้นตอนนี้อาจนำไปสู่การเรียกค่าเสียหาย ค่าชดเชยให้แก่ผู้บริโภคและตรวจสอบสินค้าในท้องตลาดเพิ่มเติม ว่ามี ชิ้นใดบกพร่อง อีกหรือไม่

วัตถุประสงค์ของการทดสอบสินค้าของศูนย์ฯ

  • เพื่อพิจารณาว่าผู้บริโภค เกิดอันตรายจากการใช้งานโดยวิธีปรกติหรือไม่
  • เพื่อพิจารณาว่าสินค้านั้นก่อให้เกิดอันตราย หรืออาจก่อให้เกิดอันตรายจากการใช้งานตามปรกติหรือไม่
  • เพื่อพิจารณาว่า สินค้านั้นบกพร่องเพียงบางชิ้น ซึ่งอาจทำให้เกิดอันตรายหรือไม่
  • เพื่อทราบสาเหตุของการเกิดอันตรายเมื่อใช้สินค้าโดยปรกติ หรือเมื่อใช้สินค้าโดย วิธีการที่ผิดปรกติ เพื่อแจ้งให้ผู้บริโภค ผู้ผลิต และผู้จำหน่ายทราบ ซึ่งมีประโยชน์ในการเรียกค่าเสียหาย เรียกคืนสินค้า สั่งห้ามขาย หรือการปรับปรุงสินค้า

 

}