แจ้งเตือนสินค้าไม่ปลอดภัย

ความอันตรายของสินค้าที่ไม่ได้มาตรฐาน

บทความ 08 มีนาคม 2562

หมวดหมู่ : บ้าน

สินค้า : กลอนประตู

ยี่ห้อ : dormakaba USA Inc.

ชื่อสินค้า : Door locksets

ประเภท/หมายเลขรุ่น : 19-046

บาร์โค้ด : -

รายละเอียดสินค้า : ชุดกลอนสำหรับล็อคบานประตูมีทั้งหมด 15 แบบ

หมายเลขรุ่นที่แจ้งเตือนมีดังนี้

QME130/F1/Privacy

QMS140, QME140/F22/Passage

QMS145, QME145/F19/Privacy with Deadbolt

QMS150, QME150/F4/Entry

QMS152, QME152/F13/Exit

QMS154, QME154/F20/Corridor

QMS158, QME158/F11/Dormitory

QMS160, QME160/F5/Classroom

QMS162, QME162/F32/Classroom Security

QMS164, QME164/F9/Apartment

QMS170, QME170/F7/Storeroom

QMS172, QME172/F30/Institutional

QMS174, QME174/F14/Store Door

ผู้ผลิต : ใต้หวัน

ประเทศที่แจ้งเตือน : สหรัฐอเมริกา

ความเป็นอันตราย

ตรวจพบความชำรุดระหว่างใช้งาน ทำให้เสี่ยงอันตรายเมื่อต้องใช้ประตูที่ติดตั้งสินค้านี้ในกรณีที่เกิดสถานการณ์ฉุกเฉิน

มีรายงานจากการใช้สินค้านี้มาว่า

ชุดล็อคทำงานผิดปกติ ทำให้เปิดไม่ออก 8 ครั้ง แต่ยังไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บใดๆ

มาตรการ

เมื่อสินค้าเกิดการชำรุดหรือทำงานผิดปกติ ไม่แนะนำให้ใช้สินค้านี้ต่อ

ควรติดต่อไปยังผู้ผลิตเพื่อขอเปลี่ยนเป็นสินค้าตัวใหม่

ขั้นตอนนี้จะไมเสียค่าใช้จ่าย

สอบถามข้อมูลได้ที่เบอร์ 855-885-1296

วันทำการ วันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 08.00 – 17.00 น.

หรือช่องทางออนไลน์ที่ www.stanelyhardwarefordoors.com

แล้วคลิกไปที่ “Product” เพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม

เรื่องราวที่เกี่ยวข้อง
ชื่อสินค้า : ถุงลมนิรภัย ทาคาตะ ความเป็นอันตราย           สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ได้รับทราบกรณีการเกิดอุบัติเหตุรถยนต์ โดยผลชันสูตรสาเหตุการเสียชีวิตเกิดจากชิ้นส่วนโลหะทะลุเข้าบริเวณคอ ซึ่งชิ้นส่วนดังกล่าวมีลักษณะเข้าได้กับชิ้นส่วนของชุดสร้างแรงดันถุงลมเสริมความปลอดภัย ยี่ห้อ ทาคาตะ (Takata) ทั้งนี้ เหตุการณ์การเสียชีวิตจากถุงลมนิรภัย ยี่ห้อ ทาคาตะ ได้เกิดขึ้นในหลายประเทศทั่วโลก และมีการเรียกคืนรถยนต์ จํานวน 100 ล้านคัน เพื่อเปลี่ยนถุงลมนิรภัยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2551 และมีผู้เสียชีวิตจากกรณีถุงลมนิรภัยระเบิด จำนวน 8 ราย และบาดเจ็บมากกว่า 100 ราย ส่วนในประเทศไทยมีรถยนต์ จำนวน 12 บริษัท ที่ใช้ถุงลมนิรภัยยี่ห้อดังกล่าว โดยผู้ประกอบธุรกิจด้านยานยนต์ทั้ง 12 บริษัท ได้มีการจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ เช่น ใบปลิว แผ่นพับ Infoghapic โดยประกาศในสื่อโซเซียลมีเดียของผู้ประกอบธุรกิจ และสื่ออื่น ไม่ว่าจะเป็น YouTube Facebook เป็นต้น  
วันที่เผยแพร่ : 26/10/2566
อ่านต่อ
หมวดหมู่ : เครื่องใช้ไฟฟ้า ชื่อสินค้า : รังสี UVC ความเป็นอันตราย           สถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019  (COVID – 19) ในปัจจุบันมีผู้ประกอบการและผู้บริโภคใช้หลอดรังสี UVC ในการฆ่าเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ตามบ้านเรือน เช่น การฆ่าเชื้อไวรัสบนธนบัตร เครื่องใช้ อุปกรณ์ หรือผลิตภัณฑ์อื่น ซึ่งจากข้อมูลของสถาบันโรคผิวหนัง กรมการแพทย์และราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย พบว่ารังสี UVC มีความเป็นอันตรายต่อผิวหนังและดวงตา เมื่อได้รับการสัมผัสโดยตรง ดังนั้น คณะกรรมการว่าด้วยความปลอดภัยของสินค้าและบริการจึงมีข้อแนะนำว่าไม่ควรนำมาใช้ภายในบ้านเรือนหรืออาคารยกเว้นนำไปใช้ภายในสถานที่ปิดมิดชิด (ระบบปิด) หรือในขณะที่ไม่มีผู้อยู่อาศัยภายใต้การควบคุมของผู้เชี่ยวชาญ เช่น โรงพยาบาล  
วันที่เผยแพร่ : 06/11/2563
อ่านต่อ
หมวดหมู่ : เครื่องใช้ไฟฟ้า ชื่อสินค้า : เครื่องแยกกากน้ำอ้อย ความเป็นอันตราย             จากข้อมูลการเกิดอุบัติเหตุจากการใช้เครื่องแยกกากน้ำอ้อย เกิดจากการใช้นิ้วมือเข้าไปดึงชานอ้อยในขณะเครื่องกำลังทำงาน การถอดฝาครอบเครื่องเพื่อสะดวกต่อการใช้งาน หรือการนำเครื่องไปทำการดัดแปลงโดยอาจทำให้มีความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ จนเป็นเหตุทำให้ผู้ใช้งานเกิดความพิการต่อร่างกายอย่างถาวร จากความเป็นอันตรายดังกล่าวคณะกรรมการว่าด้วยความปลอดภัยของสินค้าและบริการมีความห่วงใยผู้ใช้เครื่องแยกกากน้ำอ้อย จึงมีข้อแนะนำให้ผู้ใช้งานทราบว่า ก่อนการใช้งานทุกครั้ง ผู้ใช้งานควรศึกษาคู่มือและปฏิบัติตามคู่มือการใช้งานอย่างเคร่งครัด และไม่ควรนำเครื่องไปทำการดัดแปลง
วันที่เผยแพร่ : 03/11/2563
อ่านต่อ